Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการบัญชีวิสาหกิจสำหรับชุมชนประมง

อัพเดท : 11/06/2568

156

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้ ชุดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ร่วมกับ คณาจารย์ในมิติอาชีพ นำโดย อาจารย์ทรงพันธ์ จันทร์ทอง สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป และอาจารย์สุชาติ ฉันสำราญ สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะแก่ชุมชนในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาดออนไลน์ การบริหารจัดการธุรกิจ และด้านการเงินและการบัญชีวิสาหกิจสำหรับชุมชนประมง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

          โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป้าหมาย...ทำอะไร? การออกแบบตอบโจทย์ 3 ด้าน คือผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย/ผู้บริโภค/ลูกค้า การเลือกใช้แบบเพื่อสื่อสารภาพลักษณ์แบรนด์ การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ แต่สร้างประสบการณ์ ร่วมระหว่างแบรนด์(สินค้า) และผู้บริโภค(ลูกค้า) การขายสินค้ารองรับคุ้มครองผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัย ส่งเสริมการขาย สะดวกต่อการใช้งาน โดยสินค้าต้อง “สะดุดตา-ดึงดูด-ซื้อ-จำได้-ซื้อซ้ำ” อาจารย์ทรงพันธ์กล่าว รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ความรู้ เพื่อให้การดำเนินงานของเกษตรกรมีคุณภาพ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร

          และด้านการเงินและการบัญชีวิสาหกิจ สำหรับชุมชนประมง โดยวิทยากรให้ความรู้เรื่องการออมเงินที่เหมาะสมเพื่อเป้าหมายทางการเงินที่มั่นคง สร้างวินัยทางการเงิน บรรลุเป้าหมาย สร้างความมั่นคง อิสรภาพทางการเงิน โดยมีเป้าหมายทางการเงิน ระยะสั้น กลาง ยาว (เช่น ซื้อบ้าน เกษียณ) ระดับรายได้และค่าใช้จ่าย อายุและระยะเวลาการออม สถานะทางการเงินปัจจุบัน และเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อปรับแนวทางปฏิบัติ เริ่มต้นจากน้อย ๆ ได้ ค่อยๆ ปรับเพิ่มขึ้น ทบทวนสม่ำเสมอปรับตามเป้าหมายและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและเริ่มต้นออมให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีการใช้แอปพลิเคชัน Money Manager เพื่อคำนวณรายรับรายจ่ายของครัวเรือน

          ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 2 Zero Hunger (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน) ข้อที่ 4 Quality Education (ประกันคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมและเท่าเทียม และส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน) ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

 

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/34118